หน้าหลัก » ภาษาจาวา (Java) » ภาษา Java คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index) โดยรับค่าความสูงเป็นเซนติเมตร

ภาษา Java คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index) โดยรับค่าความสูงเป็นเซนติเมตร




ตัวอย่างโค้ดภาษา Java ในการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index) ซึ่งจะต้องรับค่าน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และ ความสูง (เซนติเมตร) โดยสูตรดัชนีมวลกายจะต้องคำนวณจาก ความสูง ที่มีหน่วยเป็น เมตร จากตัวอย่างนี้จะต้องรับค่าความสูงเป็นเซนติเมตร เราจะต้องเขียนโค้ดอย่างไรมาดูกัน

ตารางเปรียบเทียบค่า BMI

ผลคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)แปรผล
30.0 ขึ้นไปอ้วนมาก
25.0 – 29.9อ้วน
23.0 – 24.9น้ำหนักเกินมาตรฐาน
18.5 – 22.9น้ำหนักสมส่วน
น้อยกว่า 18.5น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

สูตรคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index)

BMI = น้ำหนักตัว / ความสูง2

น้ำหนักตัว มีหน่วยเป็น กิโลกรัม
ความสูง มีหน่วยเป็น เมต

ตัวอย่างโค้ด Java

import java.util.Scanner;

public class Comscidev {

	public static void main(String[] args) {

		Scanner scan = new Scanner(System.in);
		
		System.out.print("ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : ");
		int weight = scan.nextInt();
		
		System.out.print("ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : ");
		int height = scan.nextInt();
		
		double height_meter = height / 100.0;
		double bmi = weight / (height_meter * height_meter);
		
		if(bmi >= 30) {
			System.out.printf("\nBMI = %.2f -> อ้วนมาก", bmi);
		}
		else if(bmi >= 25 && bmi < 30) {
			System.out.printf("\nBMI = %.2f -> อ้วน", bmi);
		}
		else if(bmi >= 23 && bmi < 25) {
			System.out.printf("\nBMI = %.2f -> น้ำหนักเกินมาตรฐาน", bmi);
		}
		else if(bmi >= 18.5 && bmi < 23) {
			System.out.printf("\nBMI = %.2f -> น้ำหนักสมส่วน", bmi);
		}
		else {
			System.out.printf("\nBMI = %.2f -> น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์", bmi);
		}
		
		scan.close();
	}
}

อธิบายเพิ่มเติม

จะต้องแปลง ความสูง หน่วยเป็น เซนติเมตร ให้มีหน่วยเป็น เมตร โดย นำตัวแปร height มาหารด้วย 100.0 จากนั้นถึงจะนำค่าความสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรแล้ว ไปคำนวณตามสูตร

การแสดงผล

1.) อ้วนมาก

ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : 90
ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : 165

BMI = 33.06 -> อ้วนมาก

2.) อ้วน

ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : 80
ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : 170

BMI = 27.68 -> อ้วน

3.) น้ำหนักเกินมาตรฐาน

ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : 70
ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : 170

BMI = 24.22 -> น้ำหนักเกินมาตรฐาน

4.) น้ำหนักสมส่วน

ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : 60
ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : 175

BMI = 19.59 -> น้ำหนักสมส่วน

5.) น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ป้อนตัวเลข น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) : 50
ป้อนตัวเลข ความสูง (เซนติเมตร) : 170

BMI = 17.30 -> น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์